top of page

Imitation 

การเลียนแบบเสียงของนักร้องในเครื่องดนตรีทรอมโบน

         จากประสบการณ์ที่เล่นเครื่องดนตรีทรอมโบนมา โดยเริ่มต้นนั้นก็จะฝึกการเป่าทรอมโบนด้วยการเป่าให้เต็มเสียงยาวๆ จะเป่าโน้ตสั้นหรือยาวก็จะต้องเป่าให้เต็มค่าของโน้ตนั้น ส่วนใหญ่เพลงที่เล่นจะเป็นเพลงบรรเลงที่เป็นโน้ตสำหรับเครื่องดนตรีนั้นๆซึ่งโน้ตของทรอมโบนก็จะเป็นเสียงประสานซะส่วนใหญ่ 

        พอมีความชำนาญขึ้นก็เริ่มเล่นเพลงที่เป็นเพลงโซโล่แนวคลาสสิคหลักๆของเครื่องดนตรีทรอมโบน ก็จะมีการเพิ่มเทคนิคต่างๆเข้าไปมากขึ้นทั้งการตีความและการออกแบบประโยคของเพลง แต่ด้วยเพลงที่เขียนให้เครื่องดนตรีก็จะมีลักษณะและสไตล์การเล่นที่เป็นเอกลักษณ์หรือโทนเสียงของเครื่องดนตรีอยู่แล้ว ไม่มีคำร้องของแต่ละโน้ต จะใช้วิธีการเล่นตามทิศทางของโน้ตที่เรียงร้อยกันเป็นประโยค

         เวลาฟังเพลงของเครื่องดนตรีในแนวเพลงหลากหลายรูปแบบ ก็จะมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ของแนวเพลงและการตีความของผู้เล่นนั้นๆ ตัวอย่างบทเพลงที่ใช้เสียงของเครื่องดนตรีทรอมโบน

         เป้าหมายของเครื่องดนตรีเมื่อสมัยก่อน สร้างขึ้นมาเพื่อแทนเสียงของมนุษย์ เวลาที่เล่นเครื่องดนตรีก็ไม่ต่างอะไรไปจากการคิดเหมือนกับการร้องเพลง เมื่อยุคสมัยและแนวเพลงมีการพัฒนาหลากหลายแนวดนตรีมากยิ่งขึ้น สไตล์การเลือกฟังของเรา ยิ่งฟังและเลียนแบบมากๆก็จะยิ่งมีสำเนียงของแนวดนตรีนั้นๆมากขึ้น หรือการผสมผสานของแนวดนตรีต่างๆจนเป็นเสียงที่เราเล่นผ่านเครื่องดนตรีเป็นสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเรา

         โดยส่วนตัวผู้เล่นนั้นชอบฟังเพลงแนวคลาสสิคที่ใช้วงออเคสตราเล่น หรือเป็นผู้เล่นในวงเอง เวลาเราไปเจอนักดนตรีที่เล่นได้หลากหลายแนว ก็สงสัยว่าทำไมสำเนียงการเล่นของเขานั้นให้กลิ่นอายของแนวดนตรีนั้นจริงๆ ยกตัวอย่างที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทเพลงร้องที่เป็นแนวคลาสสิคที่จะใช้ในการแสดงครั้งนี้

         เพลงร้องแนวคลาสสิคนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างจากเพลงร้องทั่วๆไปที่เราฟัง ซึ่งการร้องเพลงคลาสสิคนั้นจะต้องใช้เทคนิคและพลังเสียงของผู้ร้องที่ค่อนข้างกว้าง และคำร้องในแต่ละประโยคเพลงจะร้องเบาหรือดัง ฟังแล้วไพเราะหรือฟังแล้วฮึกเหิมก็จะขึ้นอยู่กับคำร้องและความหมายของประโยคเพลงที่นักร้องต้องการจะสื่อสาร 

        จากการทดลองเลียนแบบเสียงของนักร้องบนเครื่องดนตรีทรอมโบน 

       

        นักดนตรีเวลาจะเล่นทำนองอะไรก็แล้วแต่บนเครื่องดนตรีของตนเอง ก็ควรที่จะร้องออกมาให้ได้อย่างที่เราคิด ซึ่งเป็นคนไม่ค่อยร้องเพลงสักเท่าไหร่ ทำให้เวลาจะเล่นบทเพลงร้อง ให้เหมือนกับนักร้องนั้นค่อนข้างยาก จึงลองฝึกฝนการร้อง Bel Canto เทคนิคที่นักร้องเพลงคลาสสิคชอบใช้แล้วมาประยุกต์กับการเล่นเครื่องดนตรีทรอมโบน แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์การออกเสียงเลียนแบบนักร้องสักเท่าไหร่ 

        จึงลองมาฟังเพลงร้องที่ตนเองนั้นจะใช้เล่นบนเครื่องดนตรีทรอมโบนซ้ำๆ แล้วก็ลองเขียนคำร้องว่าแต่ละคำอ่านว่าอย่างไร แล้วนักร้องเค้าร้องแบบไหนในคำและประโยคนั้นๆ เป็นการจำเสียงของคำร้องและนำมาเล่นบนทรอมโบนให้เหมือนที่สุด เอาการเป่าโทนเต็มๆของทรอมโบนนั้นออกไปก่อน และทดลองใช้การออกเสียงแบบไหนก็ได้จะดังจะเบาจะสั้นหรือยาวทำยังไงก็ได้ให้เหมือนกับประโยคที่นักร้อง ร้องออกมามากที่สุด

         พอเริ่มลองออกเสียงแต่ละประโยคให้ใกล้เคียงได้ ก็วิเคราะห์ว่าเราทำอะไรกับคำนั้นหรือโน้ต 1 ตัวนั้นที่เล่นบนเครื่องดนตรี นักร้องร้องแบบนี้เราจะใช้วิธีเป่าแบบนี้ๆ เมื่อเล่นต่อกันจากคำเป็นประโยคก็จะได้สีสันที่เพิ่มมากขึ้น

         

       

         

        แนวคิดของโทนเครื่องดนตรีและนักร้อง

         เป็นภาพการตีความของ 1 ประโยคเพลง โดยทั่วไปการคิดประโยคเพลงให้มีทิศทางก็เป็นแนวคิดเดียวกับการร้องเพลง แต่จะเกิดขึ้นจากภาพรวมใหญ่ๆ

T1.png

ประโยคที่เรียบๆ

T3.png

ประโยคจากเบาไปดัง

T4.png

ประโยคที่เริ่มจากเบาไปดังและกลับมาเบา

T2.png
S1.png

การออกแบบทิศทางตามประโยคเพลง

ประโยคจากดังไปเบา

          หลังจากที่ได้ศึกษาคำร้องของนักร้องเพลงคลาสสิค ที่มีการใช้ Vibrato ค่อนข้างเยอะมาก และ 1 ประโยคเพลงนั้นมีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวนี้ขึ้นอยู่กับสระพยัญชนะของคำนั้นๆรวมทั้งความหมายของคำ ทำให้ 1 ประโยคเพลงนั้นมีทิศทางที่หลากหลาย

V1.png
V2.png
V4.png
V11.png
S2.png

การออกแบบทิศทางตามคำร้อง

S3.png

        1. เวลาที่เครื่องดนตรีเลียนแบบเสียงของนักร้องตามบทเพลง การแบ่งประโยคเพลงจะขึ้นอยู่กับคำร้องแต่ละคำที่เรียงร้อยกันเป็นหนึ่งประโยค หรือเล่นในเครื่องดนตรีให้ต่อเนื่องกันไม่ขาดหรือรู้สึกขัดก่อนจบประโยคของเนื้อเพลงนั้นๆ 

        2. ในแต่ละคำร้องก็จะมีการออกเสียงทั้งสระและพยัญชนะที่แตกต่างกันตามภาษาที่ใช้ เวลานักร้องร้องเพลงก็จะสามารถออกเสียงได้ตามคำร้อง

         3. ความพิเศษของบทเพลงคลาสสิคนั้นจะค่อนข้างมีการใช้เทคนิค Vibrato (ผลสะท้อนของการสั่นสะเทือนของเสียงในโน้ต 1 ตัว) ค่อนข้างเยอะแทบจะทุกคำร้องแต่ในเครื่องดนตรีนั้นจะใช้เทคนิคนี้ในบางครั้งที่โน้ตลากยาว 

        4. ด้วยข้อจำกัดของเครื่องดนตรีเราไม่สามารถออกเสียงตามคำร้องได้และโดยปกติแล้วก็ไม่ Vibrato ทุกโน้ตที่เล่น จึงต้องศึกษาและฟังเสียงที่นักร้องนั้นออกเสียง คำนั้นสั้น,ยาว,ดัง,เบา,ชัดมากน้อยแค่ไหน

        5. เราสามารถนำส่วนนี้มาประยุกต์ใช้กับเครื่องดนตรีได้ง่ายกว่า

        

         จากการทดลองและนำมาประยุกต์ใช้ในการเล่น พบว่าเสียงของคำร้องแต่ละคำและการ  Vibrato ของนักร้องนั้น เวลาเล่นบนเครื่องดนตรีก็ไม่ต่างอะไรจากการเล่นเสียงเบาไปดังหรือดังไปเบา แต่มันเกิดขึ้นไวมากๆ ปกติจะคิดเป็นภาพรวมกว้างๆของ 1 ประโยคเพลง แต่เพลงร้องนั้นจะเกิดขึ้นแทบทุกคำ

         เวลาที่เล่นเพลงร้องให้ได้สไตล์นั้นก็ต้องศึกษาการออกเสียงของคำและความหมายของเพลง เพื่อที่เราสามารถกำหนดทิศทางและสร้างสีสันของเสียงบนเครื่องดนตรีให้ได้ใกล้เคียงกับการร้องมากที่สุด

         

bottom of page